วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562

ผลเสีย 4x100 (ยาโปร






ผลของกระท่อมต่อร่างกาย
ขนาดต่ำ ๆ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทคล้ายยาบ้าอ่อน ๆ
ขนาดสูงมีฤทธิ์เคลิบเคลิ้ม กดประสาทคล้ายฝิ่น
มีฤทธิ์ Psychedelic
เบื่ออาหาร ร่างกายซูบผอม
ผิวดำเกรียม โดยเฉพาะใบหน้าและโหนกแก้ม
ปากแห้ง คอแห้ง
ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
ปวดท้อง ท้องผูกเรื้อรัง อุจจาระเป็นก้อนดำคล้ายมูลแพะ
ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ แขนขากระตุกและชักเกร็งได้
นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ฟุ้งซ่าน
สับสน ประสาทหลอนได้
อาการเมาใบกระท่อม
                อาการเมายาหรือภาวะเป็นพิษจากยาหรือสารเสพติดที่ใช้ (Intoxication) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมหรือจิตใจ ร่วมกับอาการและอาการแสดงทางร่างกาย (Symptoms and signs) ที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากใช้สารตัวใดตัวหนึ่งในปริมาณมากเกินระดับที่ทนได้ เช่น ในคนที่เพิ่งใช้สารตัวนั้นเพียงครั้งแรก หรือ ผู้ที่ใช้ในปริมาณที่มากกว่าที่เคยใช้มาก่อน อาการที่เกิดขึ้นจะเป็นฤทธิ์ของยา หรือสารหลักในสารชนิดนั้น
                อาการเมาใบกระท่อมมีลักษณะคล้ายคลึงกับอาการเมาหรือภาวะเป็นพิษจากสารหลายชนิด เช่น จากสาร Tetrahydrocannabinols (THC) ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์หลักในกัญชา เป็นต้น คือ มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเกิดขึ้น ในลักษณะที่เป็นการแปรปรวนของระบบประสาทอัตโนมัติ กล้ามเนื้อการทรงตัว และระบบประสาทสัมผัส มักจะมีอาการตัวสั่น มือสั่น อุณหภูมิร่างกายลดลงเล็กน้อยทำให้รู้สึกตัวเย็น หนาว ความแข็งแรงและสมดุลของร่างกายลดลง จึงทำให้รู้สึกว่าแขนขาอ่อนแรง ยืนเดินไม่ไหว ระดับการประสานงานของกล้ามเนื้อลดลงจึงเดินเซ หรือทำของตกหล่น คลื่นไส้ ปวดหัวเวียนหัว และอาจมีความดันโลหิตลดลง หายใจเร็วขึ้น และหัวใจเต้นเร็วขึ้น อาการเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคของหัวใจและหลอดเลือดได้ เพราะไปเพิ่มการทำงานของหัวใจมากขึ้น อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บได้ หากผู้เสพไปขับรถหรือใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์เมื่อมีอาการ เพราะการทำงานของระบบประสาทสัมผัส การประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อและระบบประสาทควบคุมบกพร่อง การตอบสนองต่อการกระตุ้นช้าลง และแปลสิ่งเร้าผิดไป
2.  ยาแก้ไอน้ำดำ (PHENSEDYL, CODYL, TOCODYL)
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จัดยาแก้ไอน้ำดำเป็นยาเสพติด ให้โทษในประเภท 3  ห้ามมิให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่าย นอกจากได้รับอนุญาตจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาน้ำยาแก้ไอ ที่มีส่วนผสมที่แตกต่างกันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ น้ำยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีน                     กับน้ำยาแก้ไอที่ไม่มีส่วนผสมของโคเดอีน การออกฤทธิ์ของตัวยาแก้ไอทั้ง 2 ประเภทจะเหมือนกันคือ ไปกดศูนย์การไอที่ประสาทส่วนกลาง โดยยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีนจะออกฤทธิ์ที่รุนแรงกว่ายาแก้ไอที่ไม่มีส่วนผสมโคเดอีน ในปัจจุบันวัยรุ่นส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาอิสลามนำน้ำยาแก้ไอที่มีการวางจำหน่ายทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณในพื้นที่  3 จังหวัดชายแดนใต้   ยาแก้ไอที่วางขายอยู่จะมีด้วยกันหลายยี่ห้อ เช่นPHENSEDYL,CODYL,TOCODYL แต่ยี่ห้อ PHENSEDYL  มีผู้นิยมเสพกันมาก 
สำหรับน้ำยาแก้ไอที่ลักลอบนำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย มายังชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่จะใส่แกลอนๆละ  ประมาณ 1,800 บาท เมื่อนำมาส่งให้กับพ่อค้าในพื้นที่จะนำไปขายต่อแกลอนๆละ3,000 – 4,000 บาท และนำมาแบ่งบรรจุขายประมาณ 30 ซีซี ราคาจำหน่าย 50 บาท ขวดพลาสติกขนาด 50 ซีซี ราคาจำหน่าย 60  บาท ขวดพลาสติกขนาด 100 ซีซี ราคาจำหน่าย 120 บาท และนิยมกันมากก็คือบรรจุในขวดแก้วน้ำอัดลมโค้ก ขนาด 280 ซีซี ราคาจำหน่าย 300 -350 บาท แล้วนำมาลักลอบขายตามร้านขายยา ร้านน้ำชา ร้านขายไอศกรีม (ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดประจำภาคใต้ ,มปป ) ผลของการใช้ยาแก้ไอที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสม ในกรณีที่นำไปใช้ในทางที่ผิด จะเกิดอันตรายต่อ สุขภาพ อาทิ คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม และที่สำคัญ การใช้ยาติดต่อเป็นเวลานานทำให้เกิดการติดยา ทั้งทางกายและจิตใจ และมีอาการถอนยาเมื่อขาดยา เช่นเดียวกับการติดมอร์ฟีนหรือเฮโรอีนซึ่งจะต้องเข้ารับการบำบัดรักษาจึงจะหายจากการติดยาได้
อาการไม่พึงประสงค์ของการใช้โคเดอีน
-    คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม ท้องผูก
-    ลดประสิทธิภาพในการขับขี่
-    การใช้ยาในขนาดที่สูงๆทำให้การหายใจหยุดช็อกและหัวใจหยุดเต้น
-    การใช้ยาติดต่อเป็นเวลานานทำให้เกิดการติดยาได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
3.  น้ำอัดลมน้ำดำ ( น้ำโคล่าโคล่า )
น้ำอัดลมน้ำดำ เป็นเครื่องเสพที่ยอดนิยมชนิดหนึ่ง มีทั้งน้ำอัดลมดำหรือน้ำโคล่า ที่นิยมใช้ในการผสมในยาเสพติดชนิด 4x100 เป็นเครื่องเสพที่ถูกกฎหมาย พบว่าน้ำอัดลมน้ำดำ มีส่วนผสมคาเฟอีน ซึ่งเป็นสารอัลคาลอยด์ จัดอยู่ในตระกูลเมทิลแซนทีน มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้รู้สึกตื่นตัว (ปปส., 2550)
คาเฟอีนกระตุ้นการหลั่งอะดรีนาลีนและโดปามีน
ฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอะดรีนาลีน (adrenaline) ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ใจสั่น ความดันโลหิตสูงตับเร่งผลิตน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด กล้ามเนื้อตึงตัวพร้อมทำงาน ทำให้เหมือนเป็นยาชูกำลัง การบริโภคคาเฟอีนมีผลทำให้หัวใจเต้นช้าลงเล็กน้อยในชั่วโมงแรก และกลับเต้นเร็วขึ้นเล็กน้อยในชั่วโมงที่ 2 และ 3 ความดันโลหิตจะเพิ่มประมาณ 5-10 มิลลิเมตรปรอท และเพิ่มขึ้นนานประมาณ 2-3 ชั่วโมงแล้วอาการดังกล่าวจะหายไป ส่วนฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งโดปามีน (dopamine) ทำให้รู้สึกผ่อนคลายสบายใจ สุขลึกๆ  เชื่อว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเสพติดคาเฟอีน ทั้งฤทธิ์กระตุ้นการกลั่งสารอะดรีนาลีนและโดปามีน มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  การบริโภคคาเฟอีนในปริมาณสูงเกินไปอาจจะเกิดพิษขึ้นได้ คาเฟอีนในปริมาณครั้งละ 200-500 มิลลิกรัม อาจทำให้ปวดศีรษะ เกิดภาวะเครียด กระวนกระวาย มือสั่นและประสิทธิภาพ การทำงานลดลง คาเฟอีนประมาณ 1,000 มิลลิกรัม อาจทำให้ผู้บริโภคมีไข้สูง วิตกกังวล กระสับกระส่าย พูดตะกุกตะกัก ควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนปัสสาวะบ่อย ขนาดของคาเฟอีนที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ ประมาณ 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมในเด็กเล็ก หรือประมาณ 3,000 มิลลิกรัมในเด็กโต 5,000-10,000 มิลลิกรัมในผู้ใหญ่ตามลำดับ
ยากดประสาท 
                        ยาอัลปราโซแลม (alprazolam)
ยาอัลปราโซแลม (Alprazolam) หรือยาโซแรม (xoram) เป็นยากลุ่ม benzodiazepine ที่ออกฤทธิ์สั้นหรือนานปานกลาง เช่นเดียวกับ lorazepam มีชื่อทางการค้า เช่น zolam® , xanax® เป็นต้น ใช้สำหรับรักษาอาการวิตกกังวล สงบระงับ และช่วยให้นอนหลับ
ยานี้จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทที่4 ตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 การขายต้องขายในร้านขายยาที่มีใบอนุญาต และต้องขายตามใบสั่งแพทย์ โดยมีเภสัชกรควบคุมการจำหน่าย
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
          คลายกล้ามเนื้อลาย (Muscle relaxants) ต้านอาการชัก (antiepileptics) ทำให้สูญเสียความทรงจำชั่วขณะ (anterograde amnesia) ความสามารถในการเรียนรู้ และความจำลดลง สมรรถภาพในการทำงานที่ต้องใช้ความชำนาญ หรือการตัดสินใจฉับพลันเสื่อมลงเนื่องจากยานี้มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางจึงมีผู้ที่นำยานี้มาใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด เช่นที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ เป็นต้น
การติดยา
การใช้ยากลุ่ม Benzodiazepines ในขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการ ติดยาทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งถ้าหยุดยาทันทีจะเกิดอาการขาดยาหรือถอนยา เช่น คลื่นไส้ นอนไม่หลับ มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว ซึมเศร้า เป็นโรคจิต หรืออาจถึงกับชักได้
4.2 BENZODIAZEPINES (ยาเบนโซไดอาซีปีน)
ยา Benzodiazepine ตัวแรกที่นำมาใช้คือ Chordiazepoxide ถัดมาคือ Diazepam ซึ่งเป็นยาที่ใช้กว้างขวางกันในปัจจุบันยากลุ่มนี้ ส่วนมากมีฤทธิ์หลายอย่างทั้งเป็นยานอนหลับ คลายกังวล ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว แก้ชัก แต่บางตัวก็มีข้อบ่งใช้เฉพาะ เช่น Flurazepam มักใช้เป็นยานอนหลับเท่านั้นเพราะมีฤทธิ์น้อย  การติดยานอนหลับกลุ่มเบนโซไดอาซีปีน ยาจำพวกกล่อมประสาทและยานอนหลับ มีสูตรทางเคมีที่แตกต่างกัน แต่มักจะใช้เพื่อบรรเทาอาการนอนไม่หลับและอาการเครียดเหมือนกันยากลุ่มเบนโซโดอาซีปีนที่มีจำหน่ายกันในปัจจุบันยาในกลุ่มนี้ทุกตัวจะกดการหายใจเพียงเล็กน้อย ยกเว้นการใช้ยาในขนาดที่สูงมากกว่าขนาดปกติที่ใช้เพื่อนอนหลับและคลายเครียด แม้ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเกินขนาด50 – 100 เท่าของขนาดปกติยังพบการเสียชีวิตจากการกดการหายใจน้อยมากความปลอดภัยของเบนโซไดอาซีปีนในกรณีใช้ยาเกินขนาดนับเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญของยานี้เหนือยานอนหลับตัวเก่าๆ (วิโรจน์ วีรชัย และคณะ ,2548 )
 ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
กดระบบประสาทส่วนกลาง มีผลทำให้ง่วง หลับ คลายกังวล กล้ามเนื้อคลายตัว และแก้ชัก
 ขนาดสูงทำให้สลบหรือถึงโคม่า เมื่อระบบประสาทส่วนกลางถูกกด จะมีผลเสียต่อการทำงานและจิตใจ ขนาดที่ทำให้หลับทำให้มีอาการเหมือนคนเมา บังคับอารมณ์ไม่อยู่หรือตื่นเต้นในบางคน การทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อเสียไป ที่เห็นชัดๆ คือเดินเซ ในคนแก่อาจทำให้รู้สึกสับสน การทำงานของจิตใจเสื่อมลง Benzodiazepine มีผลต่อ normal sleep pattern กด REM sleep benzodiazepine
อาการไม่พึงประสงค์
ได้แก่ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ตาพร่า  วิงเวียน ปากแห้ง ลิ้นขม คลื่นไส้ อาเจียน อึดอัดบริเวณลิ้นปี่ ท้องเสีย และที่พบยากได้แก่ ปวดข้อ เจ็บหน้าอก กั้นการขับถ่ายไม่ได้ 
เสพติดได้ ถ้าหยุดยาหลังจากใช้มานาน จะเกิดอาการตรงข้ามกับฤทธิ์ของมัน เช่น นอนไม่หลับจากยาที่มีฤทธิ์ทำให้หลับ หงุดหงิดจากยาที่มีฤทธิ์แก้กังวล เป็นต้น อาการอื่นๆมีหัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก คลื่นไส้ มือสั่น กล้ามเนื้อบิดตัว เศร้า ซึม ประสาทหลอน อาการจิตเภท ชัก ถ้าใช้ยามานานควรค่อยๆ ลดขนาดยาลง พวกที่มีฤทธิ์สั้นมักจะมีอาการได้บ่อย


HOMEPAGE

ปวดหลัง


ปวดหลัง (Backache) เป็นอาการปวดเมื่อย ตึง ร้าว หรือเจ็บที่หลัง สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่บริเวณคอลงไปจนถึงก้นและขา ส่งผลมาจากหลายสาเหตุ เช่น กิจกรรมในชีวิตประจำวัน ยืน เดินหรือนั่งไม่ถูกท่า ยกของหนักเกินไป อุบัติเหตุ การกระแทก การเล่นกีฬา หรือเป็นผลมาจากโรคต่าง ๆ ปวดหลังเป็นอาการที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ใช่แค่กับผู้สูงอายุเท่านั้นที่จะเผชิญกับอาการปวดหลัง แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะคนวัยทำงาน

สาเหตุของอาการปวดหลัง

อาการปวดหลังสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การทำท่าทางที่ไม่ถูกต้องสะสมเป็นเวลานาน การเคล็ดขัดยอก การตึง การอักเสบของกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นบริเวณหลัง ปัญหาของหมอนรองกระดูก ปัญหาของกระดูกสันหลังและเส้นประสาท ปัญหาจากโรค หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ซึ่งอาการปวดหลังจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายและการดำเนินชีวิตประจำวัน
การวินิจฉัยอาการปวดหลัง
อาการปวดหลังโดยทั่วไปถ้าเกิดจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรืออาการเคล็ดขัดยอก ยังไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ในทันที แต่ถ้ารู้สึกว่ามีอาการรุนแรงก็สามารถไปพบแพทย์ได้เช่นกัน โดยแพทย์จะวินิจฉัยจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน อาชีพ ไลฟ์สไตล์ที่ทำในช่วงที่ผ่านมา เพื่อดูว่าเริ่มมีอาการปวดหลังตั้งแต่เมื่อไหร่ มีอาการตรงบริเวณไหน เคยปวดหรือเจ็บหลังมาก่อนหน้านี้หรือไม่
การรักษาอาการปวดหลัง
การรักษาอาการปวดหลังมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ หรือสาเหตุของการทำให้เกิดอาการปวดหลัง ถ้าเป็นอาการปวดในระยะสั้นคือเพิ่งปวดหรือปวดไม่มาก สามารถบรรเทาได้ด้วยตัวเองโดยการทาครีมบรรเทาอาการปวด หรือรับประทานยาแก้ปวดที่วางขายตามร้านขายยาทั่วไป หากใช้ยาแก้ปวดติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลข้างเคียงต่อการทำงานของไตและเกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารได้ ส่วนอาการปวดรุนแรงหรือเรื้อรัง แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาแก้ปวดควบคู่ไปกับการรักษารูปแบบอื่น เช่น การทำกายภาพบำบัด การฝังเข็ม หรืออาจรวมไปถึงการตรวจจำพวกเอกซเรย์หรือ Magnetic Resonance Imaging (MRI) และการผ่าตัดร่วมด้วย
ภาวะแทรกซ้อนของอาการปวดหลัง
ภาวะแทรกซ้อนของอาการปวดหลังสามารถเกิดขึ้นได้ หากปล่อยไว้นานและไม่รีบเข้ารับการรักษาให้ทันเวลา หากพบว่ามีอาการปวดหลังติดต่อกันนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ ไม่บรรเทาหรือมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์
การป้องกันอาการปวดหลัง
การป้องกันอาการปวดหลังสามารถทำได้หลายวิธี โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้หลัง การยืน การเดิน การนั่ง หรือการนอน รวมไปถึงการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงขึ้น ทำให้ยากต่อการอักเสบหรืออ่อนล้าและไม่กลับไปสู่อาการปวดหลังอีก


HOMEPAGE

อาการของ โรคมือเท้าปาก




อาการของโรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปากเป็นมากในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 10 ปี แต่สามารถพบได้ในเด็กโตและวัยผู้ใหญ่ โดยที่อาการของโรคมือเท้าปากในเด็กที่โตกว่าหรือในผู้ใหญ่จะไม่รุนแรงเท่าในเด็กเล็ก แต่อาจมีบางกรณีที่ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรง

โรคมือเท้าปากมีระยะฟักตัว 3-6 วัน โดยหลังจากได้รับเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการแสดง ดังนี้
  • มีไข้สูง 38-39 องศาเซลเซียส
  • ไอ เจ็บคอ
  • ไม่อยากอาหาร
  • ปวดท้อง
  • อ่อนเพลีย
  • มีตุ่มพอง ผื่น หรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนังบริเวณมือ ฝ่ามือ เท้า ฝ่าเท้า และภายในปาก
  • เด็กวัยแรกเกิดและเด็กเล็กวัยหัดเดินจะมีอาการงอแงไม่สบายตัว
ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้สูง 38-39 องศาเซลเซียสเป็นอาการนำก่อน จากนั้นจึงมีอาการอื่น ๆ ตามมาภายใน 1-2 วันหลังจากมีไข้ คือ ไอ เจ็บคอ ไม่อยากอาหาร อ่อนเพลีย และจะเริ่มมีตุ่ม ผื่น หรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนังบริเวณมือ ฝ่ามือ เท้า ฝ่าเท้า และบริเวณปากทั้งภายนอกและภายใน
ตุ่มพอง ผื่น หรือแผลอักเสบมีหนองที่เกิดขึ้นภายในปาก อาจเกิดได้ทั้งบริเวณปากด้านนอกและด้านใน บนริมฝีปาก ในลำคอ บนลิ้น หรือกระพุ้งแก้มด้านใน ตุ่มแผลเหล่านี้จะทำให้เกิดความเจ็บปวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลืนน้ำดื่มหรืออาหาร และตุ่มพองน้ำกับผื่นเป็นจุด ๆ จะเกิดขึ้นบนผิวหนังบริเวณนิ้วมือ ฝ่ามือ หลังมือ ฝ่าเท้าและบางครั้งก็พบที่บริเวณก้นและขาหนีบด้วยเช่นกัน
ตุ่มและแผลที่เกิดขึ้นมีลักษณะคล้ายเป็นอีสุกอีใส แต่มีขนาดเล็กกว่า บางครั้งทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง และไม่สบายตัว แต่หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายใด อาการป่วยจะทุเลาลงและหายไปภายในระยะเวลาประมาณ 10 วัน


HOMEPAGE

การนอนหลับ


photo

ความชุกของการนอนหลับผิดปกติ
          ปัญหาการนอนหลับโดยทั่วไปพบได้ค่อนข้างบ่อย โดยบางนครรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ลอสแองเจลิส พบอัตราความชุกของ การนอนหลับผิดปกติ (sleep disorders) ถึง 52.1% โดยพบภาวะนอนไม่หลับ (insomnia) ถึง 42.5% นอกจากนั้น ยังพบนอนหลับฝันร้าย (nightmares) 11.2% และ ง่วงนอนผิดปกติ (excessive sleep) 7.1%
          โดยอาการนอนไม่หลับพบบ่อยในคนไข้สูงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศหญิง
ส่วนในประเทศไทยเองก็ได้มีการศึกษาความชุกของการเกิดปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับของชาวไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร
โดยท่าน อ.ดร.ปุณฑริกา สุวรรณประเทศ ภาควิชาสรีรวิทยา ศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ผลการศึกษาพบการหยุดหายใจเนื่องจากการอุดกั้นทางเดินหายใจในขณะนอนหลับ (sleep disordered breathing) 4% ของผู้ที่ได้รับการสัมภาษณ์

ความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนหลับของคนทั่วไป
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคนเรานอนเพียงแค่เพื่อการพักผ่อนหลังจากทำงานมาเหน็ดเหนื่อยทั้งวัน ด้วยเหตุผลนี้จึงมีคนหลายคนนอนกลางวันหลัง จากอ่อนเพลียจากการทำงานช่วงเช้า โดยไม่รู้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการนอนหลับในช่วงกลางคืน บางคนเข้าใจผิดว่ายิ่งนอนมากยิ่งดี อันที่จริงการนอนมากเกินไปกลับมีผลเสียด้วยซ้ำ ด้วยเหตุผลนี้การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนหลับน่าจะมีผลดีในการนำความรู้ดังกล่าว ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ความสำคัญของการนอนหลับ
การนอนหลับมีความสำคัญต่อร่างกาย สมอง แม้กระทั่งจิตใจ โดยเราจะสังเกตได้ว่า วันใดก็ตามที่เราอดนอน สมองจะไม่ค่อยแล่น คิดอะไรไม่ค่อยออก มักใช้เวลานานกว่าปกติในการทำอะไรก็ตาม ส่วนเรื่องอารมณ์ก็ไม่ค่อยจะปกตินัก โดยอาจมีเรื่องไม่เข้าใจกันกับคนในบ้านโดยไม่สมเหตุสมผล

หลักการทั่วไปเกี่ยวกับการนอนหลับ
การนอนหลับไม่ได้ขึ้นอยู่แค่จำนวนชั่วโมงในการนอน ความลึกของการนอนหลับกับเวลาที่เข้านอนก็มีความสำคัญ ยกตัวอย่างง่ายๆบางคนอาจเคยสังเกตว่า ถึงแม้จะนอนเป็นระยะเวลาที่เพียงพอ แต่ถ้านอนหลับๆ ตื่นๆ กลิ่งไปกลิ่งมาทั่งคืน ตื่นขึ้นมาก็ไม่ได้รู้สึกสดชื่นเท่าที่ควร เรามาดูรายละเอียดกันหน่อยดีกว่าเกี่ยวกับเรื่องการนอน
     -  ระยะเวลาในการนอน (duration)
        โดยทั่วไประยะเวลาในการนอนที่เหมาะสมนอกจากจะขึ้นอยู่กับอายุแล้ว ยังแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โดยทั่วไปเด็กต้องการระยะเวลา
        ในการนอนมากกว่าผู้ใหญ่
     -  คุณภาพของการนอน (quality)
        ถ้าคนเรานอนหลับไม่ลึกพอ โดยส่วนใหญ่จะรู้สึกไม่สดชื่นเวลาตื่นขึ้นมาตอนเช้า (unrested sleep) ระบบความจำอาจไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้จำอะไรที่เรียนรู้มาไม่ค่อยได้ดีนัก
     -  เวลาเข้านอน-ตื่นนอน (sleep-wake time)
        บางคนที่เปลี่ยนเวลาเข้านอนบ่อย เช่น นอนดึกตื่นสายช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์ มักจะมีปัญหาเรื่องการนอนในวันที่เริ่มทำงาน
        ในช่วงต้นของสัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันจันทร์ เนื่องจากจะต้องปรับตัวให้ตื่นเช้าขึ้น โดยอาจส่งผลให้มีอาการง่วงนอนในช่วงเวลาทำงาน
        ในตอนกลางวัน และ ถ้าในวันนั้นง่วงมากทนไม่ไหวจนต้องนอนหลับในช่วงเย็นก็อาจมีผลให้นอนไม่ค่อยหลับในคืนนั้น

อาการของการนอนหลับผิดปกติ (sleep symptoms)
     -  นอนกรน (Snoring)
        ถึงแม้ว่าคนเราอาจมีแค่อาการกรนอย่างเดียวโดยไม่มีอาการอื่นๆร่วมด้วย (primary snoring) อาการกรนเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนไข้
        obstructive sleep apnea ชึ้งมีผลต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว เช่น cardiovascular problems, metabolic syndrome และอื่นๆ
     -  หยุดหายใจในขณะนอนหลับ (Sleep Apnea)
        เป็นอาการที่พบในคนไข้ obstructive sleep apnea ที่สำคัญอาการนี้อาจจะสังเกตได้ยากถ้าไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย
        เช่น สำลักขณะนอนหลับ (waking up choking) ตื่นขึ้นมากลางดึกอย่างกะทันหันเพื่อหายใจ (waking up gasping) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
        ถ้าคนไข้นอนคนเดียวไม่มีคนนอนข้างๆค่อยสังเกตให้
     -  ตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อปัสสาวะ (Nocturnal Urination)
        ถึงแม้อาการนี้พบได้บ่อยในคนไข้เบาหวาน อาการนี้ก็สามารถพบได้เช่นกันในคนไข้ obstructive sleep apnea โดยเชื่อว่าอาจจะเกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดเพิ่มขึ้นหลังคนไข้ดังกล่าวหยุดหายใจ ซึ้งเป็นการตอบสนองอย่างหนึ่งในช่วงดังกล่าว (bradycardia-tachycardia) ด้วยเหตุนี้เลือดไปที่ไตเพิ่มขึ้น จึงมีผลทำให้มีน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้นในขณะนอนหลับ โดยในขณะเดียวกัน obstructive sleep apnea เอง
        ก็ทำให้คนไข้นอนหลับไม่ค่อยลึกพอ จึงทำให้คนไข้สามารถรับรู้ถึงอาการปวดปัสสาวะ
     -  ปวดศีรษะหลังจากเพิ่งตื่นนอนตอนเช้า (Morning Headache)
        คนไข้ที่มีอาการ hypoventilation ขณะนอนหลับจะไม่สามารถขับถ่าย carbon dioxide ออกจากร่างกายได้อย่างเพียงพอ มีผลทำให้
        เส้นเลือดเเดงในสมองขยายตัวจาก respiratory acidosis จึงทำให้มีอาการปวดศีรษะซึ้งอาการดังกล่าวจะเห็นได้ชัดในช่วงเช้าๆ
     -  ขาขยุกขยิก (Restless Legs)
        พบได้ในคนไข้ Restless leg syndrome โดยคนไข้ในกลุ่มนี้จะมีความรู้สึกผิดปกติที่ขา ทำให้ต้องขยับไปมาเพื่อทำให้อาการดังกล่าว
        ทุเลาลง อาการนี้มักเกิดในช่วงค่ำๆ โดยอาจพบอาการนี้ได้ในคนไข้โลหิตจาง (Iron deficiency) ในช่วงขณะตั้งครรภ์ (pregnancy)
        คนไข้โรคไตวาย (chronic renal failure) และโรคอื่นๆ
     -  ขาขยับไปมาขณะนอนหลับ (Periodic Limb Movement During Sleep)
        เป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง สามารถพบร่วมได้ในคนไข้  Restless leg syndrome, Narcolepsy, Obstructive sleep apnea  และโรคอื่นๆ
     -  ง่วงนอนผิดปกติในช่วงเวลากลางวัน (Excessive Daytime Sleepiness)
        เป็นอาการที่มีความสำคัญมากที่ต้องรีบตรวจหาสาเหตุและรับการรักษา เนื่องจากอาการนี้อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ยานพาหนะ หรือจากการทำงาน อาการนี้โดยทั่วไปพบได้ในโรคอะไรก็ตามที่ทำให้คนไข้นอนหลับพักผ่อนได้ไม่เพียงพอหรือไม่ลึกพอ (sleep
        fragmentation) ซึ้งสามารถเกิดได้ในโรคต่างๆ เช่น insomnia, obstructive sleep apnea, narcolepsy และอื่นๆ
    -  Cognitive Dysfunctions
       คนไข้ที่นอนไม่เพียงพอหรือมีปัญหาเรื่องการนอนหลับอาจมีผลต่อหน้าที่การทำงานของสมอง รวมทั้งความทรงจำทั้งในระยะสั้น และในระยะยาวถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
    -  Miscellaneous (อื่นๆ)

โรคต่างๆเกี่ยวกับการนอนหลับผิดปกติ (Sleep Disorders)
     1. Insomnia โรคนอนไม่หลับ
         เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในคนไข้เกือบทุกวัยไม่ว่าจะมีอาการนี้ในระยะสั้น (acute) หรือเป็นเรื้อรัง (chronic) สามารถเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้
         1.1 Pyschophysiologic insomnia คนไข้มักมีอาการกังวลคิดมาก (racing thought) ในช่วงเวลาก่อนนอน โดยมักมีความรู้สึก ฝังใจว่าจะนอนไม่หลับขณะเข้านอน ส่งผลให้ยิ่งนอนไม่ค่อยหลับ คนไข้ในกลุ่มนี้อาจได้ผลบางส่วนจากการรักษาโดยวิธี cognitive behavioral
therapy for insomnia
         1.2 Parodoxical insomnia  คนไข้ในกลุ่มนี้มีความเข้าใจผิดว่านอนไม่หลับและจะมีความกังวลว่าอาการดังกล่าวจะมีผลต่อสุขภาพ
ของตนเอง บางคนทานยานอนหลับโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม benzodiazepine ทุกคืนจนไม่สามารถหยุดได้ (dependence) บางครั้งอาจต้องเพิ่ม
ขนาดของยาเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพเท่าเดิม (tolerance)
อย่างไรก็ตาม คนไข้ paradoxical insomnia เมื่อได้รับการตรวจค้นเพิ่มเติมโดย polysomnography จะพบว่าที่จริงแล้วคนไข้ในกลุ่มนี้
สามารถเริ่มนอนหลับหลังจากเข้านอนได้โดยใช้ระยะเวลาปกติ (normal sleep onset) แต่คนไข้ในกลุ่มนี้อาจมีความผิดปกติในแง่ sleep microstructure ทำให้คุณภาพการนอนไม่ดีมากนัก ถึงแม้ระยะเวลาในการนอนอาจจะดูเพียงพอ ทำให้คนไข้ในกลุ่มมีความรู้สึกว่า ยังนอนหลับไม่เพียงพอ จึงเข้าใจผิดว่าตนเองนอนไม่หลับ
         1.3  Insufficient sleep syndrome  ภาวะนี้พบได้ค่อนข้างบ่อยในกลุ่มวัยรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันซึ้ง
Internet/smart phones กำลังเป็นที่นิยมแพร่หลาย ทำให้วัยรุ่นในสมัยนี้เข้านอนค่อนข้างดึกถึงแม้ไม่ได้มีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับก็ตาม โดยผลที่ตามมาจะทำให้คนในกลุ่มนี้ตื่นสายและไม่ค่อยสดชื่นหลังตื่นนอน (non-restorative sleep) จนมีผลเสียต่อการเรียน
         1.4  Insomnia secondary to medical problems นอนไม่หลับเนื่องจากมีปัญหาจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
         1.5 Insomnia secondary to medication นอนไม่หลับจากยาบางชนิดที่มีผลกระตุ้นระบบประสาท (Central nervous system stimulants)
         1.6 Idiopathic insomnia นอนไม่หลับโดยไม่ทราบสาเหตุ
         1.7 Others

     2. Central origin of hypersomnolence นอนหลับมากเกินปกติ / โรคนอนเกิน / โรคนอนขี้เซา
คนไข้ในกลุ่มนี้นอนหลับมากเกินไปซึ้งเกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาท
ดังนั้นจึงควรได้รับการค้นหาสาเหตุเพิ่มเติมเช่นกัน
อย่างก็ตามก่อนจะลงความเห็นว่าคนไข้ที่ง่วงนอนผิดปกติตกอยู่ในกลุ่มนี้
ควรมั่นใจก่อนว่าคนไข้ดังกล่าวได้รับการนอนหลับพักผ่อนแล้วอย่างเพียงพอ ไม่ใช่พวกอดหลับอดนอน (Insufficient sleep syndrome) 
คนไข้ Central origin of hypersomnolenceส่วนใหญ่มีการง่วงนอนผิดปกติในเวลากลางวัน (excessive daytime sleepiness)
โดยความผิดปกตินี้อาจเกิดได้จากสาเหตุต่างๆได้แก่
     - Narcolepsy
       นอกจากคนไข้ narcolepsy จะมีอาการง่วงนอนในเวลากลางวัน (excessive daytime sleepiness) แล้ว บางคนอาจมีอาการคอพับ (head nodding) เข่าทรุด (knee buckling) หรือ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลงทันทีทันใด (cataplexy) ทำให้อ่อนแรงฉลับพลันชั่วขณะหนึ่ง(loss of muscle tone) อาการพวกนี้มักถูกกระตุ้นด้วยอารมณ์ต่างๆ เช่น อารมณ์ขบขัน อาการอื่นๆที่อาจพบได้ในคนไข้ narcolepsy ได้แก่
sleep paralysis ซึ้งคนไข้ไม่สามารถขยับเขยื้อนได้ชั่วขณะทั้งๆ ที่ไม่ได้ขาดสติ (preserved consciousness) มักเกิดอาการในขณะเพิ่งตื่นนอน กำลังสะลึมสะลือ โดยชาวบ้านบางคนอาจเรียกกันว่า ผีอำ ส่วน hypnaggoggic hallucination ก็สามารถพบได้ในคนไข้ narcolepsy โดยคนไข้จะเห็นภาพหลอนในขณะนอนเคลิ้มหลับเคลิ้มตื่น
     3. Circadian rhythm disorder ภาวะนอนไม่เป็นเวลา
         3.1  Advanced phase sleep disorder  พบได้ในคนสูงอายุบางคน โดยคนไข้จะนอนหลับแต่หัววัน (early falling asleep time) และ ตื่นนอนตั้งแต่ไก่ยังไม่ขัน (early awakening) คนไข้บางคนอาจมีตื่นนอนกลางดึกร่วมด้วย
        3.2  Delayed phase sleep disorder พบในวัยรุ่นค่อนข้างบ่อย โดยเด็กในกลุ่มนี้นอนดึกและตื่นสาย ซึ่งถ้ามีความจำเป็นต้องตื่นตอนเช้า อาจมีผลทำให้ง่วงนอนในขณะเรียนหรือทำงานในตอนกลางวัน
        3.3 Irregular sleep-wake rhythm  อาจพบได้ในคนไข้ neurodegenerative disorders เช่น คนไข้ dementia
        3.4 Non 24 hour sleep-wake disorder (free running) พบได้ในคนตาบอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งตาบอดสนิท
        3.5 Jet lag disorder    
     4. Parasomnia พฤติกรรมผิดปกติขณะหลับ
        4.1 Non-Rapid ตา movement parasomnia เช่น night terror,sleep walking (เดินละเมอ), sleep talking, sleep drinking
        4.2 Rapid ตา movement parasomnia เช่น REM behavior disorder ซึ่งพบได้บ่อยในคนไข้ที่มีความผิดปกติชนิด synucleinopathy ได้แก่คนไข้ multiple system atrophy, dementia with lewy bodies และ idiopathic parkinson disease
โรคอื่นๆได้แก่
     5. Sleep related breathing disorder ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เช่น Obstructive sleep apnea, Obesity hypoventilation syndrome
     6. Sleep related movement disorder เช่น bruxism (กัดฟันในขณะนอนหลับ), periodic limb movement disorder
การสืบหาสาเหตุและตรวจค้นเพิ่มเติมทางห้องปฎิบัติการ (Investigation)
     หลังจากคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับได้รับการซักประวัติและตรวจร่างกาย (clinical history and physical examination)
อย่างละเอียดจากแพทย์ผู้ดูแลรักษา แล้วยังไม่พบสาเหตุความผิดปกติ การสืบหาสาเหตุและตรวจค้นเพิ่มเติมทางห้องปฎิบัติการคงเป็นสิ่งจำเป็น
การตรวจค้นเพิ่มเติมดังกล่าวได้แก่
     -  Questionnaires คือ แบบสอบถามที่มีคำถามต่างๆให้คนไข้ตอบ คำถามมีหลายรูปแบบ เช่น คำถามซึ้งต้องการคำตอบ ใช่หรือไม่ใช่
บางคำถามมีคำตอบที่ต้องการประเมินระดับความรุนแรงของอาการ Questionnaire ที่ใช้บ่อยได้แก่ Epworth sleepiness scale
(สำหรับประเมินระดับของการง่วงนอนในช่วงที่ไม่ใช่เวลานอน), STOP-BANG (สำหรับประเมินโอกาสมี ostructive sleep apnea อยู่ ณ ขณะนั้น),
นอกจากนั้นยังมีแบบสอบถามเพื่อประเมิน Insomnia, Restless leg syndrome และโรคอื่นๆ
     -  Sleep diary เป็นตารางให้คนไข้ลงเวลาของ activity ต่างๆ ในแต่ละวัน เป็นเวลา 1-2 สัปดาห์, activity ต่างๆได้แก่
เวลาเข้านอนตอนกลางคืน เวลาที่เริ่มหลับ เวลาตื่นขึ้นมากลางดึกด้วยเหตุใดก็ตาม เวลาตื่นนอนตอนเช้า เวลาหงีบหลับตอนกลางวัน เวลาดื่มกาแฟ
เวลาทานยานอนหลับ และอื่นๆsleep diary จะมีประโยชน์ในการประเมินการนอนหลับในเบื้องต้น อย่างไรก็ตามอาจต้องอาศัย actigraphy
เพื่อช่วยยืนยันข้อมูลของการนอนหลับอย่างละเอียดชัดเจนอีกทีในบางกรณี
     -  Polysomnography เป็นการตรวจการนอนหลับโดยบันทึกของมูลต่างๆ ได้แก่ คลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography)
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography) การหายใจ (Respiratory monitoring) การกรอกตา (Electro-oculography) ระดับ oxygen
ขณะนอน (Pulse oxymetry) ระดับความตึงตัวของกล้ามเนื้อในบริเวณต่าง (Electromyography) และ วัดระดับ carbon dioxide ในบางกรณี
     Polysomnography มีประโยชน์อย่างมากในการช่วยวินิจฉัยโรคการนอนหลับผิดปกติต่างๆ ได้แก่ obstructive sleep apnea,
complex sleep apnea, primary snoring และอื่นๆ นอกจากนั้นในปัจจุบัน polysomnography ยังมีความจำเป็นต่อการวินิจฉัย narcolepsy
โดยใช้แปลผลคู่กับ multiple sleep latency test

Polysomnography สามารถพิจารณาทำในโรงพยาบาล (In-Labaratory) หรือบางที่ สามารถพิจารณาทำได้ที่โรงแรมหรือแม้แต่ที่บ้าน
(Home sleep study) ซึ่งจะสะดวกต่อคนไข้มาก และค่าใช้จ่ายโดยรวมอาจลดลง แต่อย่างไรก็ตามความละเอียดถูกต้องก็จะลดลงตามไปด้วย
นอกจากนั้นยังมี test อื่นๆอีกได้แก่
     -  Multiple Sleep Latency Test ใช้ช่วยในการวินิจฉัยโรค narcolepsy โดยให้คนไข้ที่ง่วงนอนผิดปกติ (excessive daytime
sleepiness) นอนในห้องที่มืดและเงียบในช่วงกลางวัน เพื่อประเมินความง่วงนอนของคนไข้ว่ามีความผิดปกติมากน้อยขนาดไหน
     -  Maintenance Wakefulness Test เป็นการทดสอบความตื่นตัว ว่าสามารถอดทนความง่วงได้มากน้อยขนาดไหน test นี้
ส่วนใหญ่ใช้ทดสอบนักบิน คนขับรถโดยสาร และในบางกรณีใช้ตรวจสอบผลการรักษาคนไข้ narcolepsy ขณะทานยาลดความง่วง (CNS stimulants)
test นี้ทำโดยให้คนไข้นั่งในห้องที่มืดและเงียบในช่วงกลางวัน แล้วประเมินความสามารถในการอดทนต่อความง่วงนอนของคนไข้
     -  Actigraphy เป็นอุปกรณ์ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายนาฬิกาข้อมือ ใช้สวมเพื่อบันทึกการหลับตื่น โดยวัดจากการเคลื่อนไหวของร่างกาย
และแขนขา ซึ้งสามารถใช้เป็นตัวบอกได้ว่าช่วงไหนหลับ ช่วงไหนตื่น นอกจากนั้นอุปกรณ์ดังกล่าวได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อวัดปริมาณแสง
ในสิ่งแวดล้อมในขณะที่เครื่องมือดังกล่าวกำลังทำงาน ดังนั้นสามารถบอกได้ว่าคนไข้รับแสงสว่างเป็นปริมาณมากน้อยเพียงใด เหมาะสมกับช่วงเวลา
และกิจกรรมต่างๆ ณ ขณะนั้นหรือไม่โดยทั่วไป actigraphy ใช้คู่กับ sleep diary ในการยืนยันการวินิจฉัยและติดตามการรักษาของโรคนอนไม่หลับ
และ บางครั้งช่วยในการวินิจฉัย sleep related movement disorders

การรักษาอาการและโรคการนอนหลับผิดปกติ (Treatment)
     ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคการนอนหลับผิดปกติ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือวินิจฉัยสาเหตุของโรค และรักษาแก้ไขที่ต้นเหตุ อย่างไรก็ตามความผิดปกติ
บางอย่าง นอกจากต้องรักษาที่สาเหตุแล้ว ยังอาจต้องการรักษาที่ตัวอาการด้วย อาการดังกล่าวได้แก่ อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง (chronic insomnia)
การรักษาความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับมีหลักการเหมือนกับการรักษาโรคอื่นๆ โดยแบ่งเป็น
  -   การรักษาโดยไม่ใช้ยา (Non-pharmacologic therapy)
  -   การรักษาโดยใช้ยา (Pharmacologic therapy)
หรืออาจสามารถแบ่งเป็น
  -   การรักษาที่สาเหตุ (specific treatment)
  -   การรักษาอี่นๆ ร่วมด้วย (supportive treatment)
ในขณะที่ได้รับการรักษา สิ่งที่สำคัญพอๆกันคือความสม่ำเสมอของการรักษา (treatment compliance) และการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
(regular follow-up) ยกตัวอย่างเช่น การรักษาคนไข้ obstructive sleep apnea ด้วย positive airway pressure therapy ได้แก่ CPAP
ปัญหาที่สำคัญคือคนไข้ส่วนหนึ่งไม่ค่อยรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง (non-adherence) เนื่องจากเหตุใดก็ตาม เช่น คนไข้บางคนรู้สึกอึกอัด
ในขณะสวมหน้ากากของเครื่อง CPAP จึงไม่ใช้เครื่อง CPAP อีกต่อไป โดยไม่ทราบว่ามีวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าว เช่น เปลี่ยนชนิดของหน้ากาก
ให้เหมาะสม หรือ ในบางคนการสวมหน้ากากก่อนนอนระยะหนึ่งโดยยังไม่เปิดเครื่อง CPAP สามารถช่วยให้คนไข้รู้สึกคุ้นเคยกับสภาวะดังกล่าว
ในขณะที่นอนหลับโดยเครื่อง CPAP กำลังทำงาน


HOMEPAGE

การออกกำลังกาย

ออกกำลังกาย




ออกกำลังกาย คือ การทำกิจกรรมที่ได้ออกแรงหรือเคลื่อนไหวร่างกายซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ โดยช่วยจัดระเบียบร่างกายและควบคุมอารมณ์ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายด้านต่าง ๆ ได้แก่ ความทนทาน ความแข็งแรง การทรงตัว และความยืดหยุ่น ดังนี้
  • ความทนทาน (Endurance) ช่วยให้หัวใจแข็งแรง เพื่อร่างกายจะได้ลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ดีขึ้น และไม่เหนื่อยง่ายเมื่อทำกิจกรรมหนัก ๆ
  • ความแข็งแรง (Strenght) ช่วยให้แบกของหนัก ออกแรง รวมทั้งทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น
  • การทรงตัว (Balance) ช่วยให้ทรงตัว รวมทั้งเคลื่อนไหวร่างกายโดยไม่หกล้มได้ง่าย
  • ความยืดหยุ่น (Flexibility) ช่วยให้ยืดตัว เอี้ยวตัว หรือเคลื่อนไหวร่างกายได้ง่ายขึ้น



การนำเสนอข้อมูล


HOMEPAGE







HOMEPAGE

เกี่ยวกับผู้จัดทำ


HOMEPAGE




HOMEPAGE

ศาสตร์พระราชา


HOMEPAGE


HOMEPAGE