วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2562

การนอนหลับ


photo

ความชุกของการนอนหลับผิดปกติ
          ปัญหาการนอนหลับโดยทั่วไปพบได้ค่อนข้างบ่อย โดยบางนครรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ลอสแองเจลิส พบอัตราความชุกของ การนอนหลับผิดปกติ (sleep disorders) ถึง 52.1% โดยพบภาวะนอนไม่หลับ (insomnia) ถึง 42.5% นอกจากนั้น ยังพบนอนหลับฝันร้าย (nightmares) 11.2% และ ง่วงนอนผิดปกติ (excessive sleep) 7.1%
          โดยอาการนอนไม่หลับพบบ่อยในคนไข้สูงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศหญิง
ส่วนในประเทศไทยเองก็ได้มีการศึกษาความชุกของการเกิดปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับของชาวไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร
โดยท่าน อ.ดร.ปุณฑริกา สุวรรณประเทศ ภาควิชาสรีรวิทยา ศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ผลการศึกษาพบการหยุดหายใจเนื่องจากการอุดกั้นทางเดินหายใจในขณะนอนหลับ (sleep disordered breathing) 4% ของผู้ที่ได้รับการสัมภาษณ์

ความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนหลับของคนทั่วไป
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคนเรานอนเพียงแค่เพื่อการพักผ่อนหลังจากทำงานมาเหน็ดเหนื่อยทั้งวัน ด้วยเหตุผลนี้จึงมีคนหลายคนนอนกลางวันหลัง จากอ่อนเพลียจากการทำงานช่วงเช้า โดยไม่รู้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการนอนหลับในช่วงกลางคืน บางคนเข้าใจผิดว่ายิ่งนอนมากยิ่งดี อันที่จริงการนอนมากเกินไปกลับมีผลเสียด้วยซ้ำ ด้วยเหตุผลนี้การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนหลับน่าจะมีผลดีในการนำความรู้ดังกล่าว ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ความสำคัญของการนอนหลับ
การนอนหลับมีความสำคัญต่อร่างกาย สมอง แม้กระทั่งจิตใจ โดยเราจะสังเกตได้ว่า วันใดก็ตามที่เราอดนอน สมองจะไม่ค่อยแล่น คิดอะไรไม่ค่อยออก มักใช้เวลานานกว่าปกติในการทำอะไรก็ตาม ส่วนเรื่องอารมณ์ก็ไม่ค่อยจะปกตินัก โดยอาจมีเรื่องไม่เข้าใจกันกับคนในบ้านโดยไม่สมเหตุสมผล

หลักการทั่วไปเกี่ยวกับการนอนหลับ
การนอนหลับไม่ได้ขึ้นอยู่แค่จำนวนชั่วโมงในการนอน ความลึกของการนอนหลับกับเวลาที่เข้านอนก็มีความสำคัญ ยกตัวอย่างง่ายๆบางคนอาจเคยสังเกตว่า ถึงแม้จะนอนเป็นระยะเวลาที่เพียงพอ แต่ถ้านอนหลับๆ ตื่นๆ กลิ่งไปกลิ่งมาทั่งคืน ตื่นขึ้นมาก็ไม่ได้รู้สึกสดชื่นเท่าที่ควร เรามาดูรายละเอียดกันหน่อยดีกว่าเกี่ยวกับเรื่องการนอน
     -  ระยะเวลาในการนอน (duration)
        โดยทั่วไประยะเวลาในการนอนที่เหมาะสมนอกจากจะขึ้นอยู่กับอายุแล้ว ยังแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โดยทั่วไปเด็กต้องการระยะเวลา
        ในการนอนมากกว่าผู้ใหญ่
     -  คุณภาพของการนอน (quality)
        ถ้าคนเรานอนหลับไม่ลึกพอ โดยส่วนใหญ่จะรู้สึกไม่สดชื่นเวลาตื่นขึ้นมาตอนเช้า (unrested sleep) ระบบความจำอาจไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้จำอะไรที่เรียนรู้มาไม่ค่อยได้ดีนัก
     -  เวลาเข้านอน-ตื่นนอน (sleep-wake time)
        บางคนที่เปลี่ยนเวลาเข้านอนบ่อย เช่น นอนดึกตื่นสายช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์ มักจะมีปัญหาเรื่องการนอนในวันที่เริ่มทำงาน
        ในช่วงต้นของสัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันจันทร์ เนื่องจากจะต้องปรับตัวให้ตื่นเช้าขึ้น โดยอาจส่งผลให้มีอาการง่วงนอนในช่วงเวลาทำงาน
        ในตอนกลางวัน และ ถ้าในวันนั้นง่วงมากทนไม่ไหวจนต้องนอนหลับในช่วงเย็นก็อาจมีผลให้นอนไม่ค่อยหลับในคืนนั้น

อาการของการนอนหลับผิดปกติ (sleep symptoms)
     -  นอนกรน (Snoring)
        ถึงแม้ว่าคนเราอาจมีแค่อาการกรนอย่างเดียวโดยไม่มีอาการอื่นๆร่วมด้วย (primary snoring) อาการกรนเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนไข้
        obstructive sleep apnea ชึ้งมีผลต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว เช่น cardiovascular problems, metabolic syndrome และอื่นๆ
     -  หยุดหายใจในขณะนอนหลับ (Sleep Apnea)
        เป็นอาการที่พบในคนไข้ obstructive sleep apnea ที่สำคัญอาการนี้อาจจะสังเกตได้ยากถ้าไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย
        เช่น สำลักขณะนอนหลับ (waking up choking) ตื่นขึ้นมากลางดึกอย่างกะทันหันเพื่อหายใจ (waking up gasping) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
        ถ้าคนไข้นอนคนเดียวไม่มีคนนอนข้างๆค่อยสังเกตให้
     -  ตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อปัสสาวะ (Nocturnal Urination)
        ถึงแม้อาการนี้พบได้บ่อยในคนไข้เบาหวาน อาการนี้ก็สามารถพบได้เช่นกันในคนไข้ obstructive sleep apnea โดยเชื่อว่าอาจจะเกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดเพิ่มขึ้นหลังคนไข้ดังกล่าวหยุดหายใจ ซึ้งเป็นการตอบสนองอย่างหนึ่งในช่วงดังกล่าว (bradycardia-tachycardia) ด้วยเหตุนี้เลือดไปที่ไตเพิ่มขึ้น จึงมีผลทำให้มีน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้นในขณะนอนหลับ โดยในขณะเดียวกัน obstructive sleep apnea เอง
        ก็ทำให้คนไข้นอนหลับไม่ค่อยลึกพอ จึงทำให้คนไข้สามารถรับรู้ถึงอาการปวดปัสสาวะ
     -  ปวดศีรษะหลังจากเพิ่งตื่นนอนตอนเช้า (Morning Headache)
        คนไข้ที่มีอาการ hypoventilation ขณะนอนหลับจะไม่สามารถขับถ่าย carbon dioxide ออกจากร่างกายได้อย่างเพียงพอ มีผลทำให้
        เส้นเลือดเเดงในสมองขยายตัวจาก respiratory acidosis จึงทำให้มีอาการปวดศีรษะซึ้งอาการดังกล่าวจะเห็นได้ชัดในช่วงเช้าๆ
     -  ขาขยุกขยิก (Restless Legs)
        พบได้ในคนไข้ Restless leg syndrome โดยคนไข้ในกลุ่มนี้จะมีความรู้สึกผิดปกติที่ขา ทำให้ต้องขยับไปมาเพื่อทำให้อาการดังกล่าว
        ทุเลาลง อาการนี้มักเกิดในช่วงค่ำๆ โดยอาจพบอาการนี้ได้ในคนไข้โลหิตจาง (Iron deficiency) ในช่วงขณะตั้งครรภ์ (pregnancy)
        คนไข้โรคไตวาย (chronic renal failure) และโรคอื่นๆ
     -  ขาขยับไปมาขณะนอนหลับ (Periodic Limb Movement During Sleep)
        เป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง สามารถพบร่วมได้ในคนไข้  Restless leg syndrome, Narcolepsy, Obstructive sleep apnea  และโรคอื่นๆ
     -  ง่วงนอนผิดปกติในช่วงเวลากลางวัน (Excessive Daytime Sleepiness)
        เป็นอาการที่มีความสำคัญมากที่ต้องรีบตรวจหาสาเหตุและรับการรักษา เนื่องจากอาการนี้อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ยานพาหนะ หรือจากการทำงาน อาการนี้โดยทั่วไปพบได้ในโรคอะไรก็ตามที่ทำให้คนไข้นอนหลับพักผ่อนได้ไม่เพียงพอหรือไม่ลึกพอ (sleep
        fragmentation) ซึ้งสามารถเกิดได้ในโรคต่างๆ เช่น insomnia, obstructive sleep apnea, narcolepsy และอื่นๆ
    -  Cognitive Dysfunctions
       คนไข้ที่นอนไม่เพียงพอหรือมีปัญหาเรื่องการนอนหลับอาจมีผลต่อหน้าที่การทำงานของสมอง รวมทั้งความทรงจำทั้งในระยะสั้น และในระยะยาวถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
    -  Miscellaneous (อื่นๆ)

โรคต่างๆเกี่ยวกับการนอนหลับผิดปกติ (Sleep Disorders)
     1. Insomnia โรคนอนไม่หลับ
         เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในคนไข้เกือบทุกวัยไม่ว่าจะมีอาการนี้ในระยะสั้น (acute) หรือเป็นเรื้อรัง (chronic) สามารถเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้
         1.1 Pyschophysiologic insomnia คนไข้มักมีอาการกังวลคิดมาก (racing thought) ในช่วงเวลาก่อนนอน โดยมักมีความรู้สึก ฝังใจว่าจะนอนไม่หลับขณะเข้านอน ส่งผลให้ยิ่งนอนไม่ค่อยหลับ คนไข้ในกลุ่มนี้อาจได้ผลบางส่วนจากการรักษาโดยวิธี cognitive behavioral
therapy for insomnia
         1.2 Parodoxical insomnia  คนไข้ในกลุ่มนี้มีความเข้าใจผิดว่านอนไม่หลับและจะมีความกังวลว่าอาการดังกล่าวจะมีผลต่อสุขภาพ
ของตนเอง บางคนทานยานอนหลับโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม benzodiazepine ทุกคืนจนไม่สามารถหยุดได้ (dependence) บางครั้งอาจต้องเพิ่ม
ขนาดของยาเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพเท่าเดิม (tolerance)
อย่างไรก็ตาม คนไข้ paradoxical insomnia เมื่อได้รับการตรวจค้นเพิ่มเติมโดย polysomnography จะพบว่าที่จริงแล้วคนไข้ในกลุ่มนี้
สามารถเริ่มนอนหลับหลังจากเข้านอนได้โดยใช้ระยะเวลาปกติ (normal sleep onset) แต่คนไข้ในกลุ่มนี้อาจมีความผิดปกติในแง่ sleep microstructure ทำให้คุณภาพการนอนไม่ดีมากนัก ถึงแม้ระยะเวลาในการนอนอาจจะดูเพียงพอ ทำให้คนไข้ในกลุ่มมีความรู้สึกว่า ยังนอนหลับไม่เพียงพอ จึงเข้าใจผิดว่าตนเองนอนไม่หลับ
         1.3  Insufficient sleep syndrome  ภาวะนี้พบได้ค่อนข้างบ่อยในกลุ่มวัยรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันซึ้ง
Internet/smart phones กำลังเป็นที่นิยมแพร่หลาย ทำให้วัยรุ่นในสมัยนี้เข้านอนค่อนข้างดึกถึงแม้ไม่ได้มีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับก็ตาม โดยผลที่ตามมาจะทำให้คนในกลุ่มนี้ตื่นสายและไม่ค่อยสดชื่นหลังตื่นนอน (non-restorative sleep) จนมีผลเสียต่อการเรียน
         1.4  Insomnia secondary to medical problems นอนไม่หลับเนื่องจากมีปัญหาจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
         1.5 Insomnia secondary to medication นอนไม่หลับจากยาบางชนิดที่มีผลกระตุ้นระบบประสาท (Central nervous system stimulants)
         1.6 Idiopathic insomnia นอนไม่หลับโดยไม่ทราบสาเหตุ
         1.7 Others

     2. Central origin of hypersomnolence นอนหลับมากเกินปกติ / โรคนอนเกิน / โรคนอนขี้เซา
คนไข้ในกลุ่มนี้นอนหลับมากเกินไปซึ้งเกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาท
ดังนั้นจึงควรได้รับการค้นหาสาเหตุเพิ่มเติมเช่นกัน
อย่างก็ตามก่อนจะลงความเห็นว่าคนไข้ที่ง่วงนอนผิดปกติตกอยู่ในกลุ่มนี้
ควรมั่นใจก่อนว่าคนไข้ดังกล่าวได้รับการนอนหลับพักผ่อนแล้วอย่างเพียงพอ ไม่ใช่พวกอดหลับอดนอน (Insufficient sleep syndrome) 
คนไข้ Central origin of hypersomnolenceส่วนใหญ่มีการง่วงนอนผิดปกติในเวลากลางวัน (excessive daytime sleepiness)
โดยความผิดปกตินี้อาจเกิดได้จากสาเหตุต่างๆได้แก่
     - Narcolepsy
       นอกจากคนไข้ narcolepsy จะมีอาการง่วงนอนในเวลากลางวัน (excessive daytime sleepiness) แล้ว บางคนอาจมีอาการคอพับ (head nodding) เข่าทรุด (knee buckling) หรือ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลงทันทีทันใด (cataplexy) ทำให้อ่อนแรงฉลับพลันชั่วขณะหนึ่ง(loss of muscle tone) อาการพวกนี้มักถูกกระตุ้นด้วยอารมณ์ต่างๆ เช่น อารมณ์ขบขัน อาการอื่นๆที่อาจพบได้ในคนไข้ narcolepsy ได้แก่
sleep paralysis ซึ้งคนไข้ไม่สามารถขยับเขยื้อนได้ชั่วขณะทั้งๆ ที่ไม่ได้ขาดสติ (preserved consciousness) มักเกิดอาการในขณะเพิ่งตื่นนอน กำลังสะลึมสะลือ โดยชาวบ้านบางคนอาจเรียกกันว่า ผีอำ ส่วน hypnaggoggic hallucination ก็สามารถพบได้ในคนไข้ narcolepsy โดยคนไข้จะเห็นภาพหลอนในขณะนอนเคลิ้มหลับเคลิ้มตื่น
     3. Circadian rhythm disorder ภาวะนอนไม่เป็นเวลา
         3.1  Advanced phase sleep disorder  พบได้ในคนสูงอายุบางคน โดยคนไข้จะนอนหลับแต่หัววัน (early falling asleep time) และ ตื่นนอนตั้งแต่ไก่ยังไม่ขัน (early awakening) คนไข้บางคนอาจมีตื่นนอนกลางดึกร่วมด้วย
        3.2  Delayed phase sleep disorder พบในวัยรุ่นค่อนข้างบ่อย โดยเด็กในกลุ่มนี้นอนดึกและตื่นสาย ซึ่งถ้ามีความจำเป็นต้องตื่นตอนเช้า อาจมีผลทำให้ง่วงนอนในขณะเรียนหรือทำงานในตอนกลางวัน
        3.3 Irregular sleep-wake rhythm  อาจพบได้ในคนไข้ neurodegenerative disorders เช่น คนไข้ dementia
        3.4 Non 24 hour sleep-wake disorder (free running) พบได้ในคนตาบอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งตาบอดสนิท
        3.5 Jet lag disorder    
     4. Parasomnia พฤติกรรมผิดปกติขณะหลับ
        4.1 Non-Rapid ตา movement parasomnia เช่น night terror,sleep walking (เดินละเมอ), sleep talking, sleep drinking
        4.2 Rapid ตา movement parasomnia เช่น REM behavior disorder ซึ่งพบได้บ่อยในคนไข้ที่มีความผิดปกติชนิด synucleinopathy ได้แก่คนไข้ multiple system atrophy, dementia with lewy bodies และ idiopathic parkinson disease
โรคอื่นๆได้แก่
     5. Sleep related breathing disorder ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เช่น Obstructive sleep apnea, Obesity hypoventilation syndrome
     6. Sleep related movement disorder เช่น bruxism (กัดฟันในขณะนอนหลับ), periodic limb movement disorder
การสืบหาสาเหตุและตรวจค้นเพิ่มเติมทางห้องปฎิบัติการ (Investigation)
     หลังจากคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับได้รับการซักประวัติและตรวจร่างกาย (clinical history and physical examination)
อย่างละเอียดจากแพทย์ผู้ดูแลรักษา แล้วยังไม่พบสาเหตุความผิดปกติ การสืบหาสาเหตุและตรวจค้นเพิ่มเติมทางห้องปฎิบัติการคงเป็นสิ่งจำเป็น
การตรวจค้นเพิ่มเติมดังกล่าวได้แก่
     -  Questionnaires คือ แบบสอบถามที่มีคำถามต่างๆให้คนไข้ตอบ คำถามมีหลายรูปแบบ เช่น คำถามซึ้งต้องการคำตอบ ใช่หรือไม่ใช่
บางคำถามมีคำตอบที่ต้องการประเมินระดับความรุนแรงของอาการ Questionnaire ที่ใช้บ่อยได้แก่ Epworth sleepiness scale
(สำหรับประเมินระดับของการง่วงนอนในช่วงที่ไม่ใช่เวลานอน), STOP-BANG (สำหรับประเมินโอกาสมี ostructive sleep apnea อยู่ ณ ขณะนั้น),
นอกจากนั้นยังมีแบบสอบถามเพื่อประเมิน Insomnia, Restless leg syndrome และโรคอื่นๆ
     -  Sleep diary เป็นตารางให้คนไข้ลงเวลาของ activity ต่างๆ ในแต่ละวัน เป็นเวลา 1-2 สัปดาห์, activity ต่างๆได้แก่
เวลาเข้านอนตอนกลางคืน เวลาที่เริ่มหลับ เวลาตื่นขึ้นมากลางดึกด้วยเหตุใดก็ตาม เวลาตื่นนอนตอนเช้า เวลาหงีบหลับตอนกลางวัน เวลาดื่มกาแฟ
เวลาทานยานอนหลับ และอื่นๆsleep diary จะมีประโยชน์ในการประเมินการนอนหลับในเบื้องต้น อย่างไรก็ตามอาจต้องอาศัย actigraphy
เพื่อช่วยยืนยันข้อมูลของการนอนหลับอย่างละเอียดชัดเจนอีกทีในบางกรณี
     -  Polysomnography เป็นการตรวจการนอนหลับโดยบันทึกของมูลต่างๆ ได้แก่ คลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography)
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography) การหายใจ (Respiratory monitoring) การกรอกตา (Electro-oculography) ระดับ oxygen
ขณะนอน (Pulse oxymetry) ระดับความตึงตัวของกล้ามเนื้อในบริเวณต่าง (Electromyography) และ วัดระดับ carbon dioxide ในบางกรณี
     Polysomnography มีประโยชน์อย่างมากในการช่วยวินิจฉัยโรคการนอนหลับผิดปกติต่างๆ ได้แก่ obstructive sleep apnea,
complex sleep apnea, primary snoring และอื่นๆ นอกจากนั้นในปัจจุบัน polysomnography ยังมีความจำเป็นต่อการวินิจฉัย narcolepsy
โดยใช้แปลผลคู่กับ multiple sleep latency test

Polysomnography สามารถพิจารณาทำในโรงพยาบาล (In-Labaratory) หรือบางที่ สามารถพิจารณาทำได้ที่โรงแรมหรือแม้แต่ที่บ้าน
(Home sleep study) ซึ่งจะสะดวกต่อคนไข้มาก และค่าใช้จ่ายโดยรวมอาจลดลง แต่อย่างไรก็ตามความละเอียดถูกต้องก็จะลดลงตามไปด้วย
นอกจากนั้นยังมี test อื่นๆอีกได้แก่
     -  Multiple Sleep Latency Test ใช้ช่วยในการวินิจฉัยโรค narcolepsy โดยให้คนไข้ที่ง่วงนอนผิดปกติ (excessive daytime
sleepiness) นอนในห้องที่มืดและเงียบในช่วงกลางวัน เพื่อประเมินความง่วงนอนของคนไข้ว่ามีความผิดปกติมากน้อยขนาดไหน
     -  Maintenance Wakefulness Test เป็นการทดสอบความตื่นตัว ว่าสามารถอดทนความง่วงได้มากน้อยขนาดไหน test นี้
ส่วนใหญ่ใช้ทดสอบนักบิน คนขับรถโดยสาร และในบางกรณีใช้ตรวจสอบผลการรักษาคนไข้ narcolepsy ขณะทานยาลดความง่วง (CNS stimulants)
test นี้ทำโดยให้คนไข้นั่งในห้องที่มืดและเงียบในช่วงกลางวัน แล้วประเมินความสามารถในการอดทนต่อความง่วงนอนของคนไข้
     -  Actigraphy เป็นอุปกรณ์ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายนาฬิกาข้อมือ ใช้สวมเพื่อบันทึกการหลับตื่น โดยวัดจากการเคลื่อนไหวของร่างกาย
และแขนขา ซึ้งสามารถใช้เป็นตัวบอกได้ว่าช่วงไหนหลับ ช่วงไหนตื่น นอกจากนั้นอุปกรณ์ดังกล่าวได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อวัดปริมาณแสง
ในสิ่งแวดล้อมในขณะที่เครื่องมือดังกล่าวกำลังทำงาน ดังนั้นสามารถบอกได้ว่าคนไข้รับแสงสว่างเป็นปริมาณมากน้อยเพียงใด เหมาะสมกับช่วงเวลา
และกิจกรรมต่างๆ ณ ขณะนั้นหรือไม่โดยทั่วไป actigraphy ใช้คู่กับ sleep diary ในการยืนยันการวินิจฉัยและติดตามการรักษาของโรคนอนไม่หลับ
และ บางครั้งช่วยในการวินิจฉัย sleep related movement disorders

การรักษาอาการและโรคการนอนหลับผิดปกติ (Treatment)
     ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคการนอนหลับผิดปกติ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือวินิจฉัยสาเหตุของโรค และรักษาแก้ไขที่ต้นเหตุ อย่างไรก็ตามความผิดปกติ
บางอย่าง นอกจากต้องรักษาที่สาเหตุแล้ว ยังอาจต้องการรักษาที่ตัวอาการด้วย อาการดังกล่าวได้แก่ อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง (chronic insomnia)
การรักษาความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับมีหลักการเหมือนกับการรักษาโรคอื่นๆ โดยแบ่งเป็น
  -   การรักษาโดยไม่ใช้ยา (Non-pharmacologic therapy)
  -   การรักษาโดยใช้ยา (Pharmacologic therapy)
หรืออาจสามารถแบ่งเป็น
  -   การรักษาที่สาเหตุ (specific treatment)
  -   การรักษาอี่นๆ ร่วมด้วย (supportive treatment)
ในขณะที่ได้รับการรักษา สิ่งที่สำคัญพอๆกันคือความสม่ำเสมอของการรักษา (treatment compliance) และการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
(regular follow-up) ยกตัวอย่างเช่น การรักษาคนไข้ obstructive sleep apnea ด้วย positive airway pressure therapy ได้แก่ CPAP
ปัญหาที่สำคัญคือคนไข้ส่วนหนึ่งไม่ค่อยรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง (non-adherence) เนื่องจากเหตุใดก็ตาม เช่น คนไข้บางคนรู้สึกอึกอัด
ในขณะสวมหน้ากากของเครื่อง CPAP จึงไม่ใช้เครื่อง CPAP อีกต่อไป โดยไม่ทราบว่ามีวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าว เช่น เปลี่ยนชนิดของหน้ากาก
ให้เหมาะสม หรือ ในบางคนการสวมหน้ากากก่อนนอนระยะหนึ่งโดยยังไม่เปิดเครื่อง CPAP สามารถช่วยให้คนไข้รู้สึกคุ้นเคยกับสภาวะดังกล่าว
ในขณะที่นอนหลับโดยเครื่อง CPAP กำลังทำงาน


HOMEPAGE

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น