ผลของกระท่อมต่อร่างกาย
ขนาดต่ำ ๆ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทคล้ายยาบ้าอ่อน ๆ
ขนาดสูงมีฤทธิ์เคลิบเคลิ้ม กดประสาทคล้ายฝิ่น
มีฤทธิ์ Psychedelic
เบื่ออาหาร ร่างกายซูบผอม
ผิวดำเกรียม โดยเฉพาะใบหน้าและโหนกแก้ม
ปากแห้ง คอแห้ง
ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
ปวดท้อง ท้องผูกเรื้อรัง อุจจาระเป็นก้อนดำคล้ายมูลแพะ
ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ แขนขากระตุกและชักเกร็งได้
นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ฟุ้งซ่าน
สับสน ประสาทหลอนได้
ขนาดสูงมีฤทธิ์เคลิบเคลิ้ม กดประสาทคล้ายฝิ่น
มีฤทธิ์ Psychedelic
เบื่ออาหาร ร่างกายซูบผอม
ผิวดำเกรียม โดยเฉพาะใบหน้าและโหนกแก้ม
ปากแห้ง คอแห้ง
ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
ปวดท้อง ท้องผูกเรื้อรัง อุจจาระเป็นก้อนดำคล้ายมูลแพะ
ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ แขนขากระตุกและชักเกร็งได้
นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ฟุ้งซ่าน
สับสน ประสาทหลอนได้
อาการเมาใบกระท่อม
อาการเมายาหรือภาวะเป็นพิษจากยาหรือสารเสพติดที่ใช้ (Intoxication) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมหรือจิตใจ ร่วมกับอาการและอาการแสดงทางร่างกาย (Symptoms and signs) ที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากใช้สารตัวใดตัวหนึ่งในปริมาณมากเกินระดับที่ทนได้ เช่น ในคนที่เพิ่งใช้สารตัวนั้นเพียงครั้งแรก หรือ ผู้ที่ใช้ในปริมาณที่มากกว่าที่เคยใช้มาก่อน อาการที่เกิดขึ้นจะเป็นฤทธิ์ของยา หรือสารหลักในสารชนิดนั้น
อาการเมาใบกระท่อมมีลักษณะคล้ายคลึงกับอาการเมาหรือภาวะเป็นพิษจากสารหลายชนิด เช่น จากสาร Tetrahydrocannabinols (THC) ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์หลักในกัญชา เป็นต้น คือ มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเกิดขึ้น ในลักษณะที่เป็นการแปรปรวนของระบบประสาทอัตโนมัติ กล้ามเนื้อการทรงตัว และระบบประสาทสัมผัส มักจะมีอาการตัวสั่น มือสั่น อุณหภูมิร่างกายลดลงเล็กน้อยทำให้รู้สึกตัวเย็น หนาว ความแข็งแรงและสมดุลของร่างกายลดลง จึงทำให้รู้สึกว่าแขนขาอ่อนแรง ยืนเดินไม่ไหว ระดับการประสานงานของกล้ามเนื้อลดลงจึงเดินเซ หรือทำของตกหล่น คลื่นไส้ ปวดหัวเวียนหัว และอาจมีความดันโลหิตลดลง หายใจเร็วขึ้น และหัวใจเต้นเร็วขึ้น อาการเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคของหัวใจและหลอดเลือดได้ เพราะไปเพิ่มการทำงานของหัวใจมากขึ้น อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บได้ หากผู้เสพไปขับรถหรือใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์เมื่อมีอาการ เพราะการทำงานของระบบประสาทสัมผัส การประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อและระบบประสาทควบคุมบกพร่อง การตอบสนองต่อการกระตุ้นช้าลง และแปลสิ่งเร้าผิดไป
2. ยาแก้ไอน้ำดำ (PHENSEDYL, CODYL, TOCODYL)
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จัดยาแก้ไอน้ำดำเป็นยาเสพติด ให้โทษในประเภท 3 ห้ามมิให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่าย นอกจากได้รับอนุญาตจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาน้ำยาแก้ไอ ที่มีส่วนผสมที่แตกต่างกันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ น้ำยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีน กับน้ำยาแก้ไอที่ไม่มีส่วนผสมของโคเดอีน การออกฤทธิ์ของตัวยาแก้ไอทั้ง 2 ประเภทจะเหมือนกันคือ ไปกดศูนย์การไอที่ประสาทส่วนกลาง โดยยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีนจะออกฤทธิ์ที่รุนแรงกว่ายาแก้ไอที่ไม่มีส่วนผสมโคเดอีน ในปัจจุบันวัยรุ่นส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาอิสลามนำน้ำยาแก้ไอที่มีการวางจำหน่ายทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ยาแก้ไอที่วางขายอยู่จะมีด้วยกันหลายยี่ห้อ เช่นPHENSEDYL,CODYL,TOCODYL แต่ยี่ห้อ PHENSEDYL มีผู้นิยมเสพกันมาก
สำหรับน้ำยาแก้ไอที่ลักลอบนำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย มายังชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่จะใส่แกลอนๆละ ประมาณ 1,800 บาท เมื่อนำมาส่งให้กับพ่อค้าในพื้นที่จะนำไปขายต่อแกลอนๆละ3,000 – 4,000 บาท และนำมาแบ่งบรรจุขายประมาณ 30 ซีซี ราคาจำหน่าย 50 บาท ขวดพลาสติกขนาด 50 ซีซี ราคาจำหน่าย 60 บาท ขวดพลาสติกขนาด 100 ซีซี ราคาจำหน่าย 120 บาท และนิยมกันมากก็คือบรรจุในขวดแก้วน้ำอัดลมโค้ก ขนาด 280 ซีซี ราคาจำหน่าย 300 -350 บาท แล้วนำมาลักลอบขายตามร้านขายยา ร้านน้ำชา ร้านขายไอศกรีม (ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดประจำภาคใต้ ,มปป ) ผลของการใช้ยาแก้ไอที่มีโคเดอีนเป็นส่วนผสม ในกรณีที่นำไปใช้ในทางที่ผิด จะเกิดอันตรายต่อ สุขภาพ อาทิ คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม และที่สำคัญ การใช้ยาติดต่อเป็นเวลานานทำให้เกิดการติดยา ทั้งทางกายและจิตใจ และมีอาการถอนยาเมื่อขาดยา เช่นเดียวกับการติดมอร์ฟีนหรือเฮโรอีนซึ่งจะต้องเข้ารับการบำบัดรักษาจึงจะหายจากการติดยาได้
อาการไม่พึงประสงค์ของการใช้โคเดอีน
- คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม ท้องผูก
- ลดประสิทธิภาพในการขับขี่
- การใช้ยาในขนาดที่สูงๆทำให้การหายใจหยุดช็อกและหัวใจหยุดเต้น
- การใช้ยาติดต่อเป็นเวลานานทำให้เกิดการติดยาได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
- การใช้ยาติดต่อเป็นเวลานานทำให้เกิดการติดยาได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
3. น้ำอัดลมน้ำดำ ( น้ำโคล่าโคล่า )
น้ำอัดลมน้ำดำ เป็นเครื่องเสพที่ยอดนิยมชนิดหนึ่ง มีทั้งน้ำอัดลมดำหรือน้ำโคล่า ที่นิยมใช้ในการผสมในยาเสพติดชนิด 4x100 เป็นเครื่องเสพที่ถูกกฎหมาย พบว่าน้ำอัดลมน้ำดำ มีส่วนผสมคาเฟอีน ซึ่งเป็นสารอัลคาลอยด์ จัดอยู่ในตระกูลเมทิลแซนทีน มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้รู้สึกตื่นตัว (ปปส., 2550)
คาเฟอีนกระตุ้นการหลั่งอะดรีนาลีนและโดปามีน
ฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอะดรีนาลีน (adrenaline) ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ใจสั่น ความดันโลหิตสูงตับเร่งผลิตน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด กล้ามเนื้อตึงตัวพร้อมทำงาน ทำให้เหมือนเป็นยาชูกำลัง การบริโภคคาเฟอีนมีผลทำให้หัวใจเต้นช้าลงเล็กน้อยในชั่วโมงแรก และกลับเต้นเร็วขึ้นเล็กน้อยในชั่วโมงที่ 2 และ 3 ความดันโลหิตจะเพิ่มประมาณ 5-10 มิลลิเมตรปรอท และเพิ่มขึ้นนานประมาณ 2-3 ชั่วโมงแล้วอาการดังกล่าวจะหายไป ส่วนฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งโดปามีน (dopamine) ทำให้รู้สึกผ่อนคลายสบายใจ สุขลึกๆ เชื่อว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเสพติดคาเฟอีน ทั้งฤทธิ์กระตุ้นการกลั่งสารอะดรีนาลีนและโดปามีน มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การบริโภคคาเฟอีนในปริมาณสูงเกินไปอาจจะเกิดพิษขึ้นได้ คาเฟอีนในปริมาณครั้งละ 200-500 มิลลิกรัม อาจทำให้ปวดศีรษะ เกิดภาวะเครียด กระวนกระวาย มือสั่นและประสิทธิภาพ การทำงานลดลง คาเฟอีนประมาณ 1,000 มิลลิกรัม อาจทำให้ผู้บริโภคมีไข้สูง วิตกกังวล กระสับกระส่าย พูดตะกุกตะกัก ควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนปัสสาวะบ่อย ขนาดของคาเฟอีนที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ ประมาณ 100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมในเด็กเล็ก หรือประมาณ 3,000 มิลลิกรัมในเด็กโต 5,000-10,000 มิลลิกรัมในผู้ใหญ่ตามลำดับ
ยากดประสาท
ยาอัลปราโซแลม (alprazolam)
ยาอัลปราโซแลม (Alprazolam) หรือยาโซแรม (xoram) เป็นยากลุ่ม benzodiazepine ที่ออกฤทธิ์สั้นหรือนานปานกลาง เช่นเดียวกับ lorazepam มีชื่อทางการค้า เช่น zolam® , xanax® เป็นต้น ใช้สำหรับรักษาอาการวิตกกังวล สงบระงับ และช่วยให้นอนหลับ
ยานี้จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทที่4 ตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 การขายต้องขายในร้านขายยาที่มีใบอนุญาต และต้องขายตามใบสั่งแพทย์ โดยมีเภสัชกรควบคุมการจำหน่าย
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
คลายกล้ามเนื้อลาย (Muscle relaxants) ต้านอาการชัก (antiepileptics) ทำให้สูญเสียความทรงจำชั่วขณะ (anterograde amnesia) ความสามารถในการเรียนรู้ และความจำลดลง สมรรถภาพในการทำงานที่ต้องใช้ความชำนาญ หรือการตัดสินใจฉับพลันเสื่อมลงเนื่องจากยานี้มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางจึงมีผู้ที่นำยานี้มาใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด เช่นที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ เป็นต้น
คลายกล้ามเนื้อลาย (Muscle relaxants) ต้านอาการชัก (antiepileptics) ทำให้สูญเสียความทรงจำชั่วขณะ (anterograde amnesia) ความสามารถในการเรียนรู้ และความจำลดลง สมรรถภาพในการทำงานที่ต้องใช้ความชำนาญ หรือการตัดสินใจฉับพลันเสื่อมลงเนื่องจากยานี้มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางจึงมีผู้ที่นำยานี้มาใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด เช่นที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ เป็นต้น
การติดยา
การใช้ยากลุ่ม Benzodiazepines ในขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการ ติดยาทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งถ้าหยุดยาทันทีจะเกิดอาการขาดยาหรือถอนยา เช่น คลื่นไส้ นอนไม่หลับ มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว ซึมเศร้า เป็นโรคจิต หรืออาจถึงกับชักได้
4.2 BENZODIAZEPINES (ยาเบนโซไดอาซีปีน)
4.2 BENZODIAZEPINES (ยาเบนโซไดอาซีปีน)
ยา Benzodiazepine ตัวแรกที่นำมาใช้คือ Chordiazepoxide ถัดมาคือ Diazepam ซึ่งเป็นยาที่ใช้กว้างขวางกันในปัจจุบันยากลุ่มนี้ ส่วนมากมีฤทธิ์หลายอย่างทั้งเป็นยานอนหลับ คลายกังวล ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว แก้ชัก แต่บางตัวก็มีข้อบ่งใช้เฉพาะ เช่น Flurazepam มักใช้เป็นยานอนหลับเท่านั้นเพราะมีฤทธิ์น้อย การติดยานอนหลับกลุ่มเบนโซไดอาซีปีน ยาจำพวกกล่อมประสาทและยานอนหลับ มีสูตรทางเคมีที่แตกต่างกัน แต่มักจะใช้เพื่อบรรเทาอาการนอนไม่หลับและอาการเครียดเหมือนกันยากลุ่มเบนโซโดอาซีปีนที่มีจำหน่ายกันในปัจจุบันยาในกลุ่มนี้ทุกตัวจะกดการหายใจเพียงเล็กน้อย ยกเว้นการใช้ยาในขนาดที่สูงมากกว่าขนาดปกติที่ใช้เพื่อนอนหลับและคลายเครียด แม้ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเกินขนาด50 – 100 เท่าของขนาดปกติยังพบการเสียชีวิตจากการกดการหายใจน้อยมากความปลอดภัยของเบนโซไดอาซีปีนในกรณีใช้ยาเกินขนาดนับเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญของยานี้เหนือยานอนหลับตัวเก่าๆ (วิโรจน์ วีรชัย และคณะ ,2548 )
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
กดระบบประสาทส่วนกลาง มีผลทำให้ง่วง หลับ คลายกังวล กล้ามเนื้อคลายตัว และแก้ชัก
ขนาดสูงทำให้สลบหรือถึงโคม่า เมื่อระบบประสาทส่วนกลางถูกกด จะมีผลเสียต่อการทำงานและจิตใจ ขนาดที่ทำให้หลับทำให้มีอาการเหมือนคนเมา บังคับอารมณ์ไม่อยู่หรือตื่นเต้นในบางคน การทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อเสียไป ที่เห็นชัดๆ คือเดินเซ ในคนแก่อาจทำให้รู้สึกสับสน การทำงานของจิตใจเสื่อมลง Benzodiazepine มีผลต่อ normal sleep pattern กด REM sleep benzodiazepine
อาการไม่พึงประสงค์
ได้แก่ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ตาพร่า วิงเวียน ปากแห้ง ลิ้นขม คลื่นไส้ อาเจียน อึดอัดบริเวณลิ้นปี่ ท้องเสีย และที่พบยากได้แก่ ปวดข้อ เจ็บหน้าอก กั้นการขับถ่ายไม่ได้
เสพติดได้ ถ้าหยุดยาหลังจากใช้มานาน จะเกิดอาการตรงข้ามกับฤทธิ์ของมัน เช่น นอนไม่หลับจากยาที่มีฤทธิ์ทำให้หลับ หงุดหงิดจากยาที่มีฤทธิ์แก้กังวล เป็นต้น อาการอื่นๆมีหัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก คลื่นไส้ มือสั่น กล้ามเนื้อบิดตัว เศร้า ซึม ประสาทหลอน อาการจิตเภท ชัก ถ้าใช้ยามานานควรค่อยๆ ลดขนาดยาลง พวกที่มีฤทธิ์สั้นมักจะมีอาการได้บ่อย
HOMEPAGE
HOMEPAGE